ค่าธรรมเนียมศาล |
ค่าธรรมเนียมศาล |
|
ทั้งนี้ หากค่าธรรมเนียมศาลดังกล่าวรวมแล้วมีเศษไม่ถึงหนึ่งบาทให้ปัดทิ้ง
1. วิธีชำระค่าธรรมเนียมศาล
กรณียื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง (คดีฟ้องใหม่ คดีฟ้องแย้ง คดีรับโอนและคดีชั้นอุทธรณ์) ชำระเป็น
1. เงินสด
2. เช็คซึ่งส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้สั่งจ่าย
3. เช็คที่ธนาคารรับรอง ได้แก่
3.1 ตั๋วแลกเงินธนาคาร
3.2 ดราฟต์
3.3 แคชเชียร์เช็ค (ใช้เฉพาะธนาคารในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เนื่องจากแคชเชียร์เช็คของธนาคารในเขตต่างจังหวัด เมื่อนำมาเข้าบัญชีที่กรุงเทพฯ จะมีค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินตามเช็ค ทำให้จำนวนเงินที่ศาลรับชำระไม่ตรงตามเช็ค จึงส่งผลให้ผู้ฟ้องคดีชำระเงินไม่ครบถ้วน)
ทั้งนี้ ให้ธนาคารสั่งจ่ายเงินชื่อบัญชี "เงินค่าธรรมเนียมและเงินค่าปรับของสำนักงานศาลปกครองกลาง"
4. บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรอื่นในลักษณะเดียวกัน
หมายเหตุ
หากมีค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการเรียกเก็บเงินตามวิธีการดังกล่าวให้ผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลเป็นผู้รับภาระ
กรณียื่นฟ้องตรงต่อศาลปกครองสูงสุด (คดี ฟ.)
ชำระเป็น
1. เงินสด
2. เช็คซึ่งส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้สั่งจ่าย
3. เช็คที่ธนาคารรับรอง ได้แก่
3.1 ตั๋วแลกเงินธนาคาร
3.2 ดราฟต์
3.3 แคชเชียร์เช็ค (ใช้เฉพาะธนาคารในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เนื่องจากแคชเชียร์เช็คของธนาคารในเขตต่างจังหวัด เมื่อนำมาเข้าบัญชีที่กรุงเทพฯ จะมีค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินตามเช็ค ทำให้จำนวนเงิน ที่ศาลรับชำระไม่ตรงตามเช็ค จึงส่งผลให้ผู้ฟ้องคดีชำระเงินไม่ครบถ้วน)
ทั้งนี้ ให้ ธนาคารสั่งจ่ายเงินชื่อบัญชี "เงินค่าธรรมเนียมและเงินค่าปรับของสำนักงานศาลปกครองสูงสุด"
4. บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรอื่นในลักษณะเดียวกัน
หมายเหตุ
หากมีค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการเรียกเก็บเงินตามวิธีการดังกล่าวให้ผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลเป็นผู้รับภาระ
2. วิธีชำระเงินวางชำระตามคำพิพากษา / เงินบังคับคดี
กรณีเป็นคดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง
ชำระเป็น
1. เงินสด
2. เช็คซึ่งส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้สั่งจ่าย
3. เช็คที่ธนาคารรับรอง ได้แก่
3.1 ตั๋วแลกเงินธนาคาร
3.2 ดราฟต์
3.3 แคชเชียร์เช็ค (ใช้เฉพาะธนาคารในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เนื่องจากแคชเชียร์เช็คของธนาคารในเขตต่างจังหวัด เมื่อนำมาเข้าบัญชีที่กรุงเทพฯ จะมีค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินตามเช็ค ทำให้จำนวนเงินที่ศาลรับชำระไม่ตรงตามเช็ค จึงส่งผลให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาชำระเงินไม่ครบถ้วน)
ทั้งนี้ ให้ ธนาคารสั่งจ่ายเงินชื่อบัญชี "เงินกลางของสำนักงานศาลปกครองกลาง"
4. บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรอื่นในลักษณะเดียวกัน
หมายเหตุ
หากมีค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการเรียกเก็บเงินตามวิธีการดังกล่าวให้ผู้มีหน้าที่ต้องชำระเงินวางชำระตามคำพิพากษา/เงินบังคับคดี เป็นผู้รับภาระ
กรณีเป็นคดีที่ยื่นฟ้องตรงต่อศาลปกครองสูงสุด (คดี ฟ.)
ชำระเป็น
1. เงินสด
2. เช็คซึ่งส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้สั่งจ่าย
3. เช็คที่ธนาคารรับรอง ได้แก่
3.1 ตั๋วแลกเงินธนาคาร
3.2 ดราฟต์
3.3 แคชเชียร์เช็ค (ใช้เฉพาะธนาคารในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เนื่องจากแคชเชียร์เช็คของธนาคารในเขตต่างจังหวัด เมื่อนำมาเข้าบัญชีที่กรุงเทพฯ จะมีค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินตามเช็ค ทำให้จำนวนเงินที่ศาลรับชำระไม่ตรงตามเช็ค จึงส่งผลให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาชำระเงินไม่ครบถ้วน)
ทั้งนี้ ให้ ธนาคารสั่งจ่ายเงินชื่อบัญชี "เงินกลางของสำนักงานศาลปกครองสูงสุด"
4. บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรอื่นในลักษณะเดียวกัน
หมายเหตุ
หากมีค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการเรียกเก็บเงินตามวิธีการดังกล่าวให้ผู้มีหน้าที่ต้องชำระเงินวางชำระตามคำพิพากษา/เงินบังคับคดี เป็นผู้รับภาระ
หากมีข้อสงสัย สอบถามได้ที่กลุ่มบริหารเงินค่าธรรมเนียมและเงินกลาง สำนักบริหารการเงินและต้นทุน
โทรศัพท์ 0-2141-0280-1, 0-2141-0276-7 , 02-141-0283, 02-141-0193
หมายเหตุ
1. คดีที่ยื่นฟ้องก่อนวันที่ 11 พ.ค. 2551 แต่ยังไม่ได้ชำระค่าธรรมเนียมศาลให้คิดค่าธรรมเนียมศาลในอัตราเดิมแม้จะชำระค่าธรรมเนียมศาลหลังวันที่ 11 พ.ค. 2551 ก็ตาม
2. ค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ ให้ใช้อัตราเดียวกับค่าธรรมเนียมศาลชั้นต้น
3. การขอคืนค่าธรรมเนียมศาลและขอรับเงินวางชำระตามคำพิพากษา
ยื่นคำร้องตามแบบฟอร์มของศาลพร้อมแนบหลักฐาน (เอกสารแนบ) และรอเจ้าหน้าที่การเงินติดต่อกลับ
หมายเหตุ
คู่กรณีสามารถยื่นคำร้องขอคืนค่าธรรมเนียม และขอรับเงินวางชำระตามคำพิพากษาคืนได้ เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว